ประวัติโดยย่อของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแหลมโพธิ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย ได้ประกาศจัดตั้งขึ้น เมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ โดยขอใช้สถานที่อาคารเรียนโรงเรียนบ้านแหลมโพธิ์เป็นการชั่วคราว โดยมีครู ๔ คน คือ
นางอริสราภรณ์ พงษ์อรุณรัตน์ ตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ นางมัณฑิรา จงสวัสดิ์ ผู้ช่วยครูดูแลเด็กอนุบาลและปฐมวัย มีนักเรียนอายุ ๓ - ๕ ขวบ ในปีการศึกษานั้นทั้งหมดจำนวน ๕๗ คน ต่อมาปีการศึกษา ๒๕๕๑ ได้มีนักเรียนในเขตบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยเพิ่มขึ้นองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย จึงได้จ้างครูเพิ่ม ๑ คน คือ นางสาวสุดาวรรณ นาวีว่อง และเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๓ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแหลมโพธิ์ได้ย้ายจากโรงเรียนบ้านแหลมโพธิ์ มาอยู่ที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหลังเดิม และมีนักเรียนอยู่ในความดูแลทั้งหมด ๘๔ คน โดยแยกเป็นช่วงอายุ ๓ ปี ๒ ห้องเรียน และ ๔ ปี ๒ ห้องเรียน และองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยได้จ้างครูเพิ่มอีก ๑ คน คือ นางสาวณัฐชา ผิวดี เพื่อให้ได้สัดส่วนกับจำนวนเด็ก และปีการศึกษา ๒๕๕๗ มีนักเรียนทั้งหมด ๘๔ คน แต่โอนย้ายไปเข้าโรงเรียนบ้านไสไทยจำนวน ๒๕ คน คงเหลือเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแหลมโพธิ์ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ จำนวน ๕๙ คน และปีการศึกษา ๒๕๕๘ มีนักเรียนมาเข้าเรียนทั้งหมด ๗๗ คนและปีการศึกษา ๒๕๕๙–ปีปัจจุบัน ได้รับเด็กปีการศึกษาละ ๔๐ คน เพื่อจะได้เป็นตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดให้ เด็ก ๑๐ คน ต่อครู ๑ คน และมีคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแหลมโพธิ์ จำนวน ๑๑ ท่าน
อัตลักษณ์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแหลมโพธิ์
"พัฒนาการสมวัย ร่าเริง แจ่มใส"
เอกลักษณ์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแหลมโพธิ์
"ศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ เคียงคู่ชุมชน"
วิสัยทัศน์
“เด็กมีพัฒนาการสมวัย บริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง”
พันธกิจ
1. จัดการศึกษาระดับปฐมวัยให้ได้รับการเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
2. พัฒนาครูผู้ดูแลเด็กให้มีศักยภาพ สามารถจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรม ดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. ส่งเสริม สนับสนุน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านศาสนา อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม
5. จัดหาสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย มีคุณภาพอย่างครบถ้วน
6. พัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม ให้สะอาด ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้
7. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้เข้มแข็งทันสมัย เน้นการมีส่วนร่วมจากชุมชน